เผยรายชื่อ คณะกรรมการกำกับสำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลผู้เป็นกำลังสำคัญด้านการสนับสนุน PDPA ไทย

สถานการณ์โควิด-19 คือมรสุมครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศชาติในทุกด้าน ไม่เว้นแม้แต่การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA ถูกขยายเวลาบังคับใช้มาถึง 2 ปี สืบเนื่องจากความยากลำบากและความไม่พร้อมของหลายภาคส่วน และส่งผลเป็นลูกโซ่ยังการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่เพิ่งได้รับการประกาศลงในราชกิจจานุษาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา

ประกาศอย่างเป็นทางการ! แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีระยะเวลาทำงานก่อน PDPA บังคับใช้เต็มรูปแบบ 1 มิถุนายน 2565 แค่เพียง 4-5 เดือน กลายเป็นคำถามที่ใครหลายคนตั้งข้อสังเกตว่า เพียงพอหรือไม่?

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับคัดเลือกล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่พร้อมเป็นผู้นำการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคลลของประเทศ ผ่านการจัดทำแผนแม่บทการดำเนินงาน ผลักดันแผนงาน ออกประกาศกำหนดเพื่อสร้างความชัดเจนในเชิงปฏิบัติ ส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานรัฐและเอกชน ตลอดจนองค์ความรู้แก่ประชาชน ฯลฯ โดยมีหน้าที่/อำนาจรวมทั้งหมด 13 ข้อด้วยกัน (พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มาตรา 16) คาดว่าเราจะเห็นความเคลื่อนไหวที่เป็นรูปธรรมออกมาในอนาคตอันใกล้

PDPA Thailand เผยประวัติ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยเราขอนำเสนอประวัติของประธานกรรมการ และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ รวม 10 ท่าน ที่ได้รับคัดเลือกแต่งตั้ง เชื่อความเชี่ยวชาญของทุกท่านสะท้อนภาพการพัฒนาด้าน Data Protection ขีดสุดของไทย

คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นายเธียรชัย ณ นคร – ประธานกรรมการ

เธียรชัย ณ นคร คือผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริงผ่านการพัฒนาพลเมืองไทย และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย โดย อ.เธียรชัย ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาพัฒนาการเมือง (สพม.) องค์กรที่พัฒนาและส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย รวมถึงเป็นผู้ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ด้วยการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ

การศึกษา:

  • นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยรามคําแหง
  • เนติบัณฑิต สํานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
  • นิติศาสตรมหาบัณฑิต (LLM) จาก University of Pennsylvania Carey Law School

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
  • อาจารย์ประจําสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
  • ประธานอนุกรรมการตอบข้อหารือตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
  • เลขาธิการสภาพัฒนาการเมือง (สพม.)
  • ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นายนวนรรน  ธีระอัมพรพันธุ์ – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ดร.นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ นายแพทย์ผู้ศึกษาและปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับข้อมูลและสารสนเทศทางการแพทย์ เช่น การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ใช้งานไอทีในโรงพยาบาล การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยเพื่อหาความสัมพันธ์ (Data Analytics) เป็นต้น จึงมีความเชี่ยวชาญในการจัดการข้อมูลสารสนเทศ และเหมาะสมดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคค

การศึกษา:

  • แพทยศาสตรบัณฑิต รามาธิบดี (รามาธิบดี 33)
  • M.S. & Ph.D. (Health Informatics), University of Minnesota, USA

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • รองคณบดีฝ่ายปฏิบัติการ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • นักวิชาการด้านสารสนเทศสุขภาพ
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

พันตำรวจโท เธียรรัตน์ วิเชียรสรรค์ – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

เธียรรัตน์ วิเชียรสรรค์ ข้าราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย มีประสบการณ์ด้านการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ด้วยมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าผู้ตรวจราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

การศึกษา: (ไม่ระบุ)

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • หัวหน้าผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
  • อนุกรรมการกฎหมาย ในคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ เคยเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความสนใจและเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมทั้งมีบทบาทสำคัญในการร่วมวางนโยบายและแผนการจัดตั้ง/พัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้วยเป็นกรรมการ คณะทำงาน และที่ปรึกษาในหลายโครงการ เช่น การจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) การจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ระยะ พ.ศ. 2554-2563 และโครงการแม่ฮ่องสอนไอทีวัลเล่ย์ เป็นต้น ด้วยความเชี่ยวชาญภายหลังจึงก้าวขึ้นเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

การศึกษา:

  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • d’Etude Approfondise (DEA) และ Diplome d’Ingenieur (D.ING) จาก Institute National Polytechnique de Grenoble (INPG) ประเทศฝรั่งเศส

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (สบทร.)
  • รักษาการผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)
  • รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  • นายกสมาคมสมองกลฝังตัวไทย (TESA)
  • คณะกรรมการกลางในการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด
  • ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์

ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ เป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ หัวหน้าสำนักวิชานิติศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์ศึกษากฎหมายกับเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชี่ยวชาญด้านกฎหมายไซเบอร์และการบังคับใช้ในเชิงสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง กฎหมายมหาชน และสิทธิมนุษยชน เป็นกระบอกเสียงในการแสดงข้อกังวลต่อกฎหมายไซเบอร์ รวมถึงกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

การศึกษา:

  • นิติศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขากฎหมายระหว่างประเทศ
  • Doctor in Law, PhD Program: Law and Political Science, Facultat de Dret Universitat de Barcelona

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • หัวหน้าสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • หัวหน้าศูนย์ศึกษากฎหมายกับเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์ ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ศาสตราจารย์ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย

ศาสตราจารย์ ดร.ศุภลักษณ์  พินิจภูวดล เป็นอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย โดดเด่นด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหลากหลายแขนง โดยเฉพาะกฎหมายการเงิน ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายภาษีอากร กฎหมายการคลัง กฎหมายมหาชน กฎหมายภาษีทรัพย์สิน กฎหมายภาษีเงินได้ ฯลฯ

การศึกษา:

  • นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปริญญาขั้นสูงทางการคลังและภาษีอากร มหาวิทยาลัยปารีส 2
  • ปริญญาโททางการคลังและภาษีอากร มหาวิทยาลัยปารีส 2
  • ปริญญาเอกทางกฎหมาย เกียรตินิยมดีมาก มหาวิทยาลัยปารีส 2

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • ศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทคณาจารย์ประจำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กรรมการเฉพาะกิจ โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ประธานหมวดวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่และพิจารณาอุทธรณ์ภาษีกรุงเทพมหานคร
  • กรรมการสภาวิทยาลัยทองสุข
  • กรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • อดีตที่ปรึกษากิตติมศักดิ์รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง (นางพรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา) (พ.ศ.2555)
  • อดีตประธานสภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 40 (7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555)
  • อดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.2554 / 2556-2558)

ศาสตราจารย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพ

ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ในฐานะศัลยแพทย์ (การผ่าตัด) ศาสตราจารย์ระดับ 11 และคณบดีประจำคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านการทำงานวิจัยและเชี่ยวชาญด้านแพทยศาสตร์ศึกษา มีความสามารถและคุ้นเคยกับการบริหารงานโรงพยาบาลและตระหนักถึงข้อมูลที่ไหลเวียนในองค์กร ศาสตราจารย์ประสิทธิ์จึงเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะดูแลการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในเชิงลึกของหน่วยงาน/ธุรกิจกลุ่มสุขภาพ

การศึกษา:

  • วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (เกียรตินิยมอันดับ 2) มหาวิทยาลัยมหิดล
  • แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (เกียรตินิยมอันดับ 2) มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย การแพทย์คลินิก สาขาศัลยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วุฒิบัตรฯ สาขาศัลยศาสตร์ แพทย์สภา
  • Fellow of the Royal College of Royal College of Surgeons of Edinburgh, United Kingdom (F.R.C.S.Ed)
  • Doctor of Philosophy, University of London, United Kingdom
  • Fellow of the American College American College of Surgeons of Surgeons (F.A.C.S.), USA
  • หลักสูตร “หลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย” สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ รุ่นที่ 3
  • หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน
  • Certificate: Stanford Executive Program, Graduate School of Business, Stanford University, California USA
  • หลักสูตรเตรียมผู้บริหารระดับสูงของทบวงมหาวิทยาลัย รุ่นที่ 8 (นบม.8)
  • หลักสูตร ST: Synergistic Teamwork สถาบันการบริหารการพัฒนาองค์การ รุ่นที่ 1
  •  หลักสูตร Project Management วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • หลักสูตร โครงการเตรียมผู้บริหารและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ระบบบริหาร (Mini MPA) รุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยมหิดล

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • Education Advisor, Peking Union Medical College, China
  • ที่ปรึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • นายกสภา สภาอาชีวศึกษา กทม. กระทรวงศึกษาธิการ
  • รองคณบดีและผู้อำนวยการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงเรียนแพทย์ศิริราช
  • รองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคลและ พัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และรองคณบดีฝ่ายบริการ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ประธานกรรมการ คณะทำงานร่างข้อบังคับชุดคณะกรรมการด้านการบริหารงานบุคคล กลุ่ม 2 และกลุ่ม 3 มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กรรมการ คณะกรรมการเตรียมการด้านการบริหารงานบุคคล เพื่อรองรับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • บรรณาธิการวารสาร “สารศิริราช” คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพ ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน

รื่นวดี สุวรรณมงคล คือหญิงแกร่งที่จบสายกฎหมายมาโดยตรง และมีประสบการณ์การทำงานมาอย่างโชกโชน ในหลายตำแหน่งสำคัญ ๆ ปัจจุบันกลับมารับตำแหน่งเป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สานต่อการดูแลวงการสินทรัพย์ดิจิทัลที่เข้มข้นขึ้นทุกขณะ เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นอีกกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานขององค์กรในตลาดหลักทรัพย์โดยตรง เนื่องจากมีชุดข้อมูลทางการเงินที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ด้วยบทบาทหน้าที่และความสามารถ “พี่แป๋ว” จึงได้รับเลือกเป็น 1 ใน 10 อรหันต์ ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย

การศึกษา:

  • นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นิติศาสตรมหาบัณฑิต (LLM) Harvard Law School, Cambridge, Massachusetts, USA       
  • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) University of California at Berkeley, USA
  • เนติบัณฑิตไทย (นบท.) สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • กรรมการ คณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
  • กรรมการ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 
  • กรรมการ คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • กรรมการ คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
  • กรรมการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  • อ.ก.พ. วิสามัญเฉพาะกิจเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
  • กรรมการ และประธานกรรมการความเสี่ยง บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด
  • กรรมการอิสระ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
  • ที่ปรึกษา คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วุฒิสภา
  • อธิบดีกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
  • อธิบดีกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม
  • ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม และรองโฆษกกระทรวงยุติธรรม
  • รองผู้อำนวยการ สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
  • รองอธิบดี กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
  • ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม 
  • ที่ปรึกษาเฉพาะด้านกฎหมาย (นิติกร 9 ชช) สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
  • ประธาน คณะทำงานศึกษาและยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับหลักประกันทางธุรกิจ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 257/2560 เรื่องการแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาและยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับหลักประกันทางธุรกิจ 
  • กรรมการ คณะกรรมการวิชาการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • กรรมการ คณะกรรมการสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ (International Union of Judicial Officers: UIHJ)
  • เลขานุการและกรรมาธิการวิสามัญในคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  • กรรมาธิการวิสามัญในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมาย (หลายฉบับ)
  • กรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (มหาชน)
  • เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นางเมธินี เทพมณี – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านอื่น (การบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ)

เมธินี เทพมณี เป็นสตรีตัวอย่างอีก 1 คนที่มีโอกาสได้แสดงความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน ได้รับการยอมรับจากสังคม และผู้นำขององค์กรในหลายด้าน โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการปฏิรูปประเทศ ปลัดกระทรวง และเลขาธิการของสำนักต่าง ๆ ที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับโทรคมนาคมและเทคโลยีสารสนเทศ จนได้รับการเชิดชูเกียรติจากสมาคม/เครือข่ายสตรี

การศึกษา:

  • บัญชีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • Master of Business Administration, UNIVERSITY OF BRIDGEPORT, USA
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • ผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
  • ประธานคณะอนุกรรมการด้านยุทธศาสตร์ดิจิทัลของตลาดทุน
  • หัวหน้า/รองหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมระหว่างประเทศ องค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Telecommunity: APT)
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทย การประชุมรัฐมนตรีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของภูมิภาคสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU)
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทย การประชุมสภาบริหารของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (2015)
  • รองหัวหน้าคณะผู้แทนไทย การประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม (2014)
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทย การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 15 และสมัยพิเศษ
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทย การประชุมคณะทำงานอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศภายใต้ TELSOM
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทย การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคด้านโทรคมนาคมและสารสนเทศ
  • ฝ่ายเลขานุการคณะทำงานโครงการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ทั่วราชอาณาจักรของกรมสรรพากร
  • ฝ่ายบริหารจัดการการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ราชพัสดุทั่วราชอาณาจักรของกรมธนารักษ์
  • ฝ่ายเลขานุการการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ของประเทศไทย
  • อาจารย์พิเศษ/ผู้ร่วมพัฒนาหลักสูตร วิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดล
  • ผู้ผลิตหลักสูตรร่วมวิชา “ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บภาษี” มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านอื่น (การบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ) ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นายอนุสิษฐ คุณากร – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านอื่น (การรักษาผลประโยชน์ของชาติ)

อนุสิษฐ คุณากร อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านการกำหนดและขับเคลื่อนนโยบาย/ยุทธศาสตร์ความมั่นคง การจัดทำแผนและฝึกซ้อมบริหารวิกฤติการระดับชาติ และงานความร่วมมือระหว่างประเทศและการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง

การศึกษา:

  • นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านอื่น (การรักษาผลประโยชน์ของชาติ) ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล